• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

PwC

Started by Shopd2, July 12, 2023, 08:54:54 PM

Previous topic - Next topic

Shopd2

  • เก้าในสิบขององค์กรประสบปัญหาการหยุดชะงักครั้งใหญ่หลายครั้ง
  • 76% กล่าวว่า ดิสรัปชันส่งผลกระทบปานกลาง/สูงต่อการดำเนินธุรกิจ
  • 70% มั่นใจในความสามารถในการฟื้นตัวจากการหยุดชะงัก แต่หลายองค์กรยังขาดความสามารถในการฟื้นตัวขั้นพื้นฐานที่จำเป็นต่อความสำเร็จ
PwC เผย รายงานผลสำรวจวิกฤตและความสามารถในการฟื้นตัวขององค์กรทั่วโลก (Global Crisis and Resilience Survey) ซึ่งทำการสำรวจสองปีต่อครั้งพบว่า องค์กรและผู้นำธุรกิจประเมินความสามารถในการฟื้นตัวสูงเกินไปแม้ว่าจะดำเนินงานในยุคแห่งการหยุดชะงัก (Disruption) ก็ตามทั้งนี้ ข้อมูลจากผู้ตอบแบบสำรวจจำนวนทั้งสิ้น 1,812 รายทั่วโลก แสดงให้เห็นถึงมุมมองของผู้นำธุรกิจในการเตรียมตัวและรับมือกับโลกแห่งการเปลี่ยนแปลงใบใหม่ โดยเมื่อถามถึงความสามารถในการฟื้นตัวอย่างรวดเร็วว่าถูกจัดให้เป็นภารกิจสำคัญลำดับที่เท่าใดขององค์กร เก้าในสิบ (89%) ของผู้ตอบแบบสำรวจกล่าวว่า ความสามารถในการฟื้นตัว ถือเป็นหนึ่งในภารกิจเชิงกลยุทธ์ที่สำคัญที่สุด ซึ่งบ่งชี้ว่าองค์กรทั่วโลกต่างกำลังปฏิวัติความสามารถในการฟื้นตัวจากภาวะวิกฤตหลังจากการเริ่มต้นทศวรรษที่วุ่นวาย จึงไม่น่าแปลกใจที่เก้าในสิบ (91%) ขององค์กรกล่าวว่า ตนประสบปัญหาการหยุดชะงักอย่างน้อยหนึ่งครั้ง นอกเหนือไปจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 รายงานพบว่า โดยเฉลี่ยแล้วองค์กรต่าง ๆ ประสบปัญหาการหยุดชะงักถึงสามครั้งครึ่งในช่วงสองปีที่ผ่านมา และสามในสี่ (76%) กล่าวว่า การหยุดชะงักที่ร้ายแรงที่สุดสร้างผลกระทบในระดับปานกลางถึงระดับสูงต่อการดำเนินธุรกิจ โดยขัดขวางกระบวนการทางธุรกิจและบริการที่สำคัญ และก่อให้เกิดปัญหาทางการเงินและชื่อเสียงขององค์กรสำหรับการหยุดชะงักห้าอันดับแรกที่พบในรายงาน ประกอบไปด้วย การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 การรักษาและการสรรหาพนักงาน ห่วงโซ่อุปทาน การหยุดชะงักที่เกิดขึ้นจากเทคโนโลยีหรือความล้มเหลว และการโจมตีทางไซเบอร์ อย่างไรก็ดี หากไม่นับการแพร่ระบาดครั้งใหญ่ การหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทาน ถือได้ว่าส่งผลกระทบมากที่สุดต่อองค์กรทั้งในแง่การเงินและอื่น ๆ และยังได้เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าตั้งแต่ปี 2562 นอกจากนี้ มากกว่าครึ่ง (60%) ขององค์กรที่ประสบปัญหาการหยุดชะงักของซัพพลายเชนที่รุนแรงที่สุด ยังมีความกังวลมากที่สุดว่า ตนจะต้องเผชิญกับภาวะหยุดชะงักในลักษณะเดียวกันนี้อีกครั้งนาย เดวิด สเทนแบค หัวหน้าร่วม ศูนย์ระดับโลกเพื่อวิกฤตและความสามารถในการฟื้นตัว PwC ประเทศสหรัฐอเมริกา กล่าวว่า "ผู้นำธุรกิจกำลังเผชิญกับการหยุดชะงักและความไม่แน่นอนในระดับที่ไม่เคยมีมาก่อนในสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน องค์กรต่าง ๆ กำลังต่อสู้กับแรงผลักดันภายนอกและการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจภายใน และนี่ คือ ความท้าทายที่ทำให้ความสามารถในการฟื้นตัวกลายเป็นหนึ่งในภารกิจเชิงกลยุทธ์ที่มีความสำคัญมากที่สุดในโลกธุรกิจ"นอกจากนี้ แม้ว่า 70% ของผู้นำธุรกิจจะแสดงความมั่นใจต่อความสามารถในการฟื้นตัวจากการหยุดชะงักต่าง ๆ ข้อมูลจากผลสำรวจพบว่า หลาย ๆ องค์กรทั่วโลกยังขาดองค์ประกอบพื้นฐานที่สำคัญของการสร้างความสามารถในการฟื้นตัวให้ประสบความสำเร็จ ซึ่งช่องว่างความเชื่อมั่นนี้ ส่งผลให้องค์กรทั่วโลกต้องอยู่ในความเสี่ยงต่อภัยอันตราย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อการหยุดชะงักนั้น ๆ ส่งผลกระทบโดยตรงต่อองค์กร ตรงข้ามกับความท้าทายระดับโลกหรือของภาคส่วนอื่น ๆ ทั้งนี้ ข้อมูลในรายงานผลสำรวจยังเปิดเผยให้เห็นถึงแนวโน้มสำคัญสามประการที่ขับเคลื่อนการปฏิวัติความสามารถในการฟื้นตัวขององค์กร ดังต่อไปนี้ 
  • โปรแกรมสร้างความสามารถในการฟื้นตัวแบบบูรณาการ (Integration) ถือเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับองค์กรในวันนี้ เพราะการทำงานแบบไซโลนั้น ไม่เพียงพอต่อการจัดการความเสี่ยงที่ซับซ้อนและเชื่อมโยงถึงกันและกันอีกต่อไป ธุรกิจต่าง ๆ กำลังขับเคลื่อนไปสู่การมีแนวทางการฟื้นตัวแบบบูรณาการที่ควบคุมจากส่วนกลางขององค์กรและมีความสอดคล้องกับความสามารถในการฟื้นตัวหลากหลายด้านเพื่อปกป้องจุดที่สำคัญที่สุด รวมถึงผนวกโปรแกรมเข้ากับการดำเนินธุรกิจและวัฒนธรรมองค์กร
  • ธุรกิจจะเติบโตได้ในวิกฤตที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องต้องอาศัยผู้บริหารที่มีความเป็นผู้นำ (Leadership) และทีมงานที่ได้รับการยกระดับทักษะ โดยกลยุทธ์และโปรแกรมสร้างความสามารถในการฟื้นตัวที่ประสบความสำเร็จจะต้องอาศัย (1) การให้การสนับสนุนจากฝ่ายบริหารระดับสูง (2) ผู้นำโปรแกรมที่มีความรับผิดชอบที่ชัดเจน และ (3) ทีมงานที่มีทักษะในการปฏิบัติงานวันต่อวัน
  • มีแนวทางของโปรแกรม (Programme approach) สร้างความสามารถในการฟื้นตัวที่คำนึงถึงสิ่งที่สำคัญที่สุด องค์กรควรต้องสร้างความสามารถในการฟื้นตัว (Operational resilience: OpRes) และมั่นใจได้ว่า การวางแผนและการเตรียมความพร้อมได้เป็นส่วนหนึ่งของวงจรการปฏิบัติงานที่มีความต่อเนื่อง ทั้งนี้ ในขณะที่ธุรกิจต่าง ๆ ผนวกโปรแกรมสร้างความสามารถในการฟื้นตัวมากขึ้น ก็มีองค์กรหลายแห่งที่นำหลักของแนวทาง OpRes มาประยุกต์ใช้ ซึ่งมุ่งเน้นไปที่การปกป้องจุดสำคัญที่สุดของธุรกิจและจัดลำดับความสำคัญของการลงทุน โดยคำนึงถึงปัจจัยที่มีผลต่อองค์กรและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย นี่จึงช่วยให้องค์กรสามารถจัดการกับความเสี่ยงได้อย่างมีความน่าเชื่อถือสูง และเสริมสร้างประสิทธิภาพ
สำหรับองค์กรที่มีโปรแกรมสร้างความสามารถในการฟื้นตัวแบบบูรณาการนั้น ยังมีความก้าวหน้าในองค์ประกอบหลักอื่น ๆ ของ OpRes ซึ่งรวมถึง กระบวนการประเมินความเสี่ยงและภัยคุกคาม การทดสอบ และการทำแผนแสดงการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของบริการและกระบวนการ ทำให้บริษัทเหล่านี้มีระบบภูมิคุ้มกันขององค์กรที่เข้มแข็ง ตลอดจนสามารถปรับตัว ยืดหยุ่น และก้าวต่อไปข้างหน้าอย่างแข็งแกร่งนางสาว บ๊อบบี้ แรมสเดน-โนลส์ หัวหน้าร่วม ศูนย์ระดับโลกเพื่อวิกฤตและความสามารถในการฟื้นตัว PwC ประเทศสหราชอาณาจักร กล่าวว่า"ความสามารถในการปรับตัวและตอบสนองต่อการหยุดชะงัก มีความสำคัญต่อการรักษาความไว้วางใจที่สร้างขึ้นกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และปกป้องคุณค่าและชื่อเสียงของผู้ถือหุ้น ในขณะที่ความคาดหวังต่อความสามารถในการฟื้นตัวของธุรกิจและรัฐบาลอยู่ในระดับสูงอย่างไม่เคยมีมาก่อน ฉะนั้น เพื่อสร้างองค์กรที่เชื่อถือได้และมีความคล่องตัว ผู้นำธุรกิจจำเป็นที่จะต้องลงทุนในการสร้างความสามารถในการฟื้นตัวครอบคลุมทุกสายงานและบุคลากร รวมถึงให้ความสำคัญกับแนวทางแบบบูรณาการที่ได้รับการสนับสนุนจากเทคโนโลยี เพื่อให้องค์กรเห็นภาพของความเสี่ยงและภูมิทัศน์ด้านการฟื้นตัว"ด้าน นาย พันธ์ศักดิ์ เสตเสถียร หุ้นส่วนสายงานที่ปรึกษาด้านความเสี่ยง PwC ประเทศไทย กล่าวเสริมว่า องค์กรที่ดำเนินธุรกิจในประเทศไทยกำลังเผชิญกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยี ภัยคุกคามทางไซเบอร์ การจัดการความเสี่ยงจากบุคคลภายนอก (Third party risk management) ตลอดการวางแผนสืบทอดตำแหน่ง (Succession planning) โดยในขณะที่องค์กรชั้นนำหลายแห่งได้มีการวางแผนเพื่อรับสถานการณ์ดังกล่าวไว้บ้างแล้ว แต่องค์กรขนาดใหญ่บางแห่ง รวมถึงองค์กรขนาดกลางและขนาดเล็ก ยังไม่ได้ให้ความสำคัญในเรื่องนี้"ปัญหาขององค์กรไทยที่มักจะพบเจอ คือ ผู้บริหารยังไม่ได้ให้ความสำคัญกับการจัดการภาวะวิกฤตจากการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ โดยส่วนใหญ่ยังเน้นไปที่ผลประกอบการทางการเงินเป็นหลัก เช่น การสร้างรายได้ หรือลดต้นทุน จึงอยากแนะนำองค์กรหันมาให้ความสำคัญกับประเด็นนี้มากขึ้น ซึ่งการมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล ถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับผู้นำในยุคปัจจุบัน" นาย พันธ์ศักดิ์ กล่าว"นอกจากนี้ การมีคณะผู้บริหาร หรือคณะทำงานที่มีความเข้าใจในการรับมือกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ยังถือเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ เพราะการจัดการภาวะวิกฤตและการหยุดชะงักจะสำเร็จได้ ต้องอาศัยการวางแผน การให้ความร่วมมือของทุกฝ่ายทั่วทั้งองค์กร อีกทั้งจะต้องมีการประเมินผลลัพธ์ที่ได้ และรายงานผลดังกล่าวไปให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ และนำไปปรับปรุงความสามารถในการฟื้นตัวขององค์กรอย่างต่อเนื่องต่อไป" เขา กล่าวหากต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาดาวน์โหลดรายงานผลสำรวจ PwC Global Crisis and Resilience Survey 2023 ฉบับเต็มได้ทาง www.pwc.com/crisis-resilience